วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คู่มือการใช้งาน Eclipse เบื้องต้น


วิธีใช้ Eclipse เบื้องต้น


Eclipse คือ IDE(Integrated Development Environment) หรือ Editorตัวหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมในการใช้พัฒนาโปรแกรม Eclipseสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมในหลายภาษา มี GUI ที่ดูและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ Eclipse ยังสามารถdownload plugIn ต่างๆมาใช้งานร่วมกับตัว Eclipse เองด้วย ยกตัวอย่างเช่น การใช้Eclipse ในการพัฒนาโปรแกรมบน Android ก็จะมีส่วน plugIn ให้ใช้ร่วมกับEclipse เลย ที่สำคัญที่สุด Eclipse เป็น Freeware นั่นคือสามารถ download มาใช้กันแบบฟรีๆได้เลยครับ



ก่อนเริ่มใช้งาน Eclipse


ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน Eclipse แน่นอนว่าจะต้องมีตัวโปรแกรม Eclipse โดยสามารถdownload ตัวโปรแกรม Eclipse ได้ที่ http://www.eclipse.org/downloads/ โดย Eclipse มีหลาย version เราสามารถเลือก download ได้ตามความเหมาะสมของโปรแกรมที่จะพัฒนาได้เลยครับ ขนาดของแต่ละ version ก็จะมีขนาดของ file แตกต่างกันไป




เมื่อทำการ download มาแล้วจะได้เป็น .zip file ซึ่งเราสามารถทำการ Extract fileไปยัง directory ทีต้องการจะทำการ install ได้เลย เมื่อExtract file .zip แล้วจะได้file ต่างๆดังภาพ














เราสามามารถเข้าโปรแกรม Eclipse โดยเข้าที่ file “eclipse.exe”



ในที่นี้เราจะทำการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา JAVA เพราะฉะนั้นจะต้องทำการdownload ตัว JDK หรือ Java Development Kit เสียก่อน สามารถ downloadได้ที่http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/index.html


เมื่อ download JDK แล้วก็ต้องทำการ Set class path เพื่อให้สามารถ Compileและ Run Java ได้ โดยวิธีทำสามารถติดตามได้จาก Link ด้านล่างเลยครับ
http://archive.oracle.in.th/2008/02/set-path-class-path-j2se-dos.htmlหรือ
http://www.dominixz.com/blog/software-tips/set-java-to-compile-and-run-all-places-in-dos/



เริ่มใช้งาน Eclipse





เมื่อกดเข้าโปรแกรมแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาถาม workspace ที่จะให้ Eclipse ใช้พื้นที่ในการทำงาน เหมือนเป็นการ Set default พื้นที่ในการทำงาน เราสามารถกำหนดworkspace เองได้แล้วแต่ผู้ใช้งานครับ







หน้าจอหลักของ Eclipse จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆดังนี้ครับ





เป็นส่วนของแถบเมนู และ Tool ต่างๆ
เป็นส่วนที่แสดงและจัดการ Project ต่างๆ เหมือนเป็นการ Browse ดู Projectหรือ File ต่างๆ
เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียน Code
เป็นส่วนที่แสดงถึงโครงสร้างหรือส่วนประกอบของ Class เช่น attribute method และด้านบนสุดเป็นส่วนที่ใช้จัดการกับ plugIn ต่างๆ
เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลการทำงานต่าง เมื่อทำการ Run โปรแกรม และยังมีส่วนของการ debug โปรแกรมด้วย


เมื่อรู้จักหน้าตาหรือ GUI แบบคร่าวๆของ Eclipse กันแล้วต่อไปก็มาลองเขียนโปรแกรมง่ายกันครับ โดยเริ่มจากการ New Project ใหม่ขึ้นมา โดยการเลือกที่ File >> New >> Java Project










จากนั้นจะมีหน้าต่างให้กำหนดค่ารายละเอียดต่างๆของ Project โดยจะบังคับให้ใส่ Project Name ในที่นี้จะตั้งชื่อ Project ว่าEclipseTutorial เมื่อกำหนดค่ารายละเอียดต่างๆแล้ว กด Finish






เราจะได้ Project ที่ชื่อว่าEclipseTutorial ขึ้นมา แต่เป็น Project ที่ว่างเปล่า เพราะฉะนั้นเราจะทำการสร้างClass ที่ชื่อ MainClass ขึ้นมา โดยการคลิกขวาที่Project แล้วเลือก New >> Class ในการ New Classขึ้นมาก็จะสามารถตั้งรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ Classที่จะสร้างนั้นได้ เมื่อกำหนดค่าต่างๆเรียบร้อยแล้วให้กดFinish







เราจะได้ MainClass.class ขึ้นมา ต่อไปเราจะลองสร้าง class TestObj ขึ้นมา เพื่อลองใช้ Funtion บางอย่างของ Eclipse ครับ ภายใน class TestObj จะมี code ดังนี้ครับ
public class TestObj {
private String firstName;
private String lastName;

public void showName() {
System.out.println("THIS IS METHOD showName()");
System.out.println("My name is "+firstName+" "+lastName);
}
}
Tip&Trick
ในการ code คำสั่ง System.out.println(); นั้นสามารถใช้วิธีลัดโดยการพิมพ์ว่าsysout แล้วกด CTRL+SpaceBar ตัว Eclipse จะสร้างคำสั่งSystem.out.println(); ให้ทันที






จะเห็นได้ว่า Attribute ใน Class TestObj เป็น private ฉะนั้นก็จะต้องมี Getter and Setter เราสามารถที่จะสั่งให้ Eclipse สร้าง Getter and Setter จากAttribute ที่มีอยู่ได้โดยการคลิกขวาที่หน้าจอที่ใช้เขียน code แล้วเลือก Source >> Generate Getters and Setters..












หน้าต่างสำหรับการ Generate Getters and Setters จะขึ้นมา ให้เราทำการเลือกว่าจะสร้างGetters and Setters ให้กับAttribute ใดบ้าง และยังสามารถปรับรายละเอียดต่างๆได้เล็กน้อย เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยให้กด OK
















เราจะได้ code ของ class TestObj ดังนี้
public class TestObj {
private String firstName;
private String lastName;

public void showName() {
System.out.println("THIS IS METHOD showName()");
System.out.println("My name is "+firstName+" "+lastName);
}


public String getFirstName() {
return firstName;
}


public void setFirstName(String firstName) {
this.firstName = firstName;
}


public String getLastName() {
return lastName;
}


public void setLastName(String lastName) {
this.lastName = lastName;
}
}


นอกจากการ Generate Getters and Setters แล้ว เราสามารถคลิกขวาเพื่อดูFunction อื่นๆที่ Eclipse สามารถช่วยจัดการให้การทำงานของเราง่ายขึ้นครับ
เมื่อได้ class TestObj แล้ว ต่อไปเราก็ทำการแก้ไข code ของ MainClass ให้เป็นดังนี้
public class MainClass {
public static void main(String[] args) {
TestObj temp = new TestObj();
temp.setFirstName("Itthi");
temp.setLastName("Kruenarongkul");
temp.showName();

temp.setFirstName("Monthinee");
temp.setLastName("Buntawee");
temp.showName();
}
}


Tip&Trick
ในการ code คำสั่งต่างๆ เราสามารถกด CTRL+SpaceBar เพื่อเรียกดูได้ว่าสามารถใช้ method หรือเรียก Attribute ใดมาใช้ได้บ้าง หรือบางที Eclipse ก็จะขึ้นส่วนนี้มาให้เอง




เมื่อทำการแก้ไข Code เสร็จเรียบร้อย เราจะลองทำการ Run โปรแกรมนี้ดู โดยการกดปุ่มสีเขียวที่อยู่ด้านล่างแถบเมนู





จะเห็นได้ว่า จะมีการเตือนให้ทำการ Save ก่อนทุกครั้งที่จะทำการ Run โปรแกรม หากต้องการ Save และทำการ Run ต่อไปให้กด OK แต่ถ้ากด Cancel จะไม่ Save และไม่ทำการ Run โปรแกรม

เมื่อ Run โปรแกรมแล้วให้ดูส่วนด้านล่างที่จะแสดงผลในการ Run โปรแกรมนั้น






นี่ก็เป็นวิธีการใช้งานเบื้องต้นสำหรับมือใหม่ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ :)



วีดีโอ การใช้งาน Eclipse เบื้องต้น

การใช้งาน Eclipse เบื้องต้น

1 ความคิดเห็น: