วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ตัวอย่างโปรแกรม

ตัวอย่างโปรแกรม...

     โปรแกรมแปลงอุณหภูมิจากฟาเรนไฮต์เป็นเซลเซียส



import java.io.BufferedReader;
import java.io.IOException;
import java.io.InputStreamReader;

       public class Pro{

       public static void main(String[] args) {
 
      BufferedReader br = new BufferedReader(new InputStreamReader(System.in));

          System.out.println(" Hello ");

          System.out.println("Please Enter Temperature");
 
      double Fahrenheit ;
   
      String  F  = "";
   
      try{
   
      F =  br.readLine();
           
      }


      catch (IOException e){
 
      System.out.println("Error!");
       }

    Fahrenheit = Double.parseDouble(F);

         System.out.println("Temperature is "+(Fahrenheit-32)*5/9+"Celsius");
   
          }
}



ผลที่โปรแกรมแสดงออกมา

            Hello
            Please Enter  Temperature
            80
            Temperature is 26.666666666666668 Celsius


จากการแสดงผลที่ออกมาของโปรแกรม เมื่อทำกาiรันโปรแกรม แล้วโปรแกรมจะขึ้น

  " Hello "

  " Please Enter  Temperature "

เพื่อให้เราใส่ค่าของอุณหภูมิที่เราต้องการทราบ แต่ต้องเป็นองศาฟาเรนไฮต์
เมื่อเราใส่

  " 80 "

  โปรแกรมจะทำการรับค่าแล้วนำไปคำนวณออกมาเป็น

 " Temperature is 26.666666666666668 Celsius "





import   คือ การบ่งบอกว่าเราจะนำเอา โปรแกรมอะไรมาใช้งาน

public class       คือ การประกาศชื่อโปรแกรมของเรา

System.out.println         คือ การออกคำสั่งให้กับโปรแกรมว่าจะให้มันแสดงค่า

try          คือ โปรแกรมรับจะรับค่าเข้าไปเก็บ  

 catch        คือ โปรแกรมที่จะแสดงค่า

double      คือ การรับค่าเป็นตัวเลขที่เป็นทศนิยม

if       คือ เงื่อนไขที่จะนำไปสู่การสังการ



วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

คู่มือการใช้งาน Eclipse เบื้องต้น


วิธีใช้ Eclipse เบื้องต้น


Eclipse คือ IDE(Integrated Development Environment) หรือ Editorตัวหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมในการใช้พัฒนาโปรแกรม Eclipseสนับสนุนการพัฒนาโปรแกรมในหลายภาษา มี GUI ที่ดูและเข้าใจง่าย นอกจากนี้ Eclipse ยังสามารถdownload plugIn ต่างๆมาใช้งานร่วมกับตัว Eclipse เองด้วย ยกตัวอย่างเช่น การใช้Eclipse ในการพัฒนาโปรแกรมบน Android ก็จะมีส่วน plugIn ให้ใช้ร่วมกับEclipse เลย ที่สำคัญที่สุด Eclipse เป็น Freeware นั่นคือสามารถ download มาใช้กันแบบฟรีๆได้เลยครับ



ก่อนเริ่มใช้งาน Eclipse


ก่อนที่จะเริ่มใช้งาน Eclipse แน่นอนว่าจะต้องมีตัวโปรแกรม Eclipse โดยสามารถdownload ตัวโปรแกรม Eclipse ได้ที่ http://www.eclipse.org/downloads/ โดย Eclipse มีหลาย version เราสามารถเลือก download ได้ตามความเหมาะสมของโปรแกรมที่จะพัฒนาได้เลยครับ ขนาดของแต่ละ version ก็จะมีขนาดของ file แตกต่างกันไป




เมื่อทำการ download มาแล้วจะได้เป็น .zip file ซึ่งเราสามารถทำการ Extract fileไปยัง directory ทีต้องการจะทำการ install ได้เลย เมื่อExtract file .zip แล้วจะได้file ต่างๆดังภาพ














เราสามามารถเข้าโปรแกรม Eclipse โดยเข้าที่ file “eclipse.exe”



ในที่นี้เราจะทำการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษา JAVA เพราะฉะนั้นจะต้องทำการdownload ตัว JDK หรือ Java Development Kit เสียก่อน สามารถ downloadได้ที่http://www.oracle.com/technetwork/java/javase/downloads/index.html


เมื่อ download JDK แล้วก็ต้องทำการ Set class path เพื่อให้สามารถ Compileและ Run Java ได้ โดยวิธีทำสามารถติดตามได้จาก Link ด้านล่างเลยครับ
http://archive.oracle.in.th/2008/02/set-path-class-path-j2se-dos.htmlหรือ
http://www.dominixz.com/blog/software-tips/set-java-to-compile-and-run-all-places-in-dos/



เริ่มใช้งาน Eclipse





เมื่อกดเข้าโปรแกรมแล้วจะมีหน้าต่างขึ้นมาถาม workspace ที่จะให้ Eclipse ใช้พื้นที่ในการทำงาน เหมือนเป็นการ Set default พื้นที่ในการทำงาน เราสามารถกำหนดworkspace เองได้แล้วแต่ผู้ใช้งานครับ







หน้าจอหลักของ Eclipse จะแบ่งออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆดังนี้ครับ





เป็นส่วนของแถบเมนู และ Tool ต่างๆ
เป็นส่วนที่แสดงและจัดการ Project ต่างๆ เหมือนเป็นการ Browse ดู Projectหรือ File ต่างๆ
เป็นส่วนที่ใช้ในการเขียน Code
เป็นส่วนที่แสดงถึงโครงสร้างหรือส่วนประกอบของ Class เช่น attribute method และด้านบนสุดเป็นส่วนที่ใช้จัดการกับ plugIn ต่างๆ
เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลการทำงานต่าง เมื่อทำการ Run โปรแกรม และยังมีส่วนของการ debug โปรแกรมด้วย


เมื่อรู้จักหน้าตาหรือ GUI แบบคร่าวๆของ Eclipse กันแล้วต่อไปก็มาลองเขียนโปรแกรมง่ายกันครับ โดยเริ่มจากการ New Project ใหม่ขึ้นมา โดยการเลือกที่ File >> New >> Java Project










จากนั้นจะมีหน้าต่างให้กำหนดค่ารายละเอียดต่างๆของ Project โดยจะบังคับให้ใส่ Project Name ในที่นี้จะตั้งชื่อ Project ว่าEclipseTutorial เมื่อกำหนดค่ารายละเอียดต่างๆแล้ว กด Finish






เราจะได้ Project ที่ชื่อว่าEclipseTutorial ขึ้นมา แต่เป็น Project ที่ว่างเปล่า เพราะฉะนั้นเราจะทำการสร้างClass ที่ชื่อ MainClass ขึ้นมา โดยการคลิกขวาที่Project แล้วเลือก New >> Class ในการ New Classขึ้นมาก็จะสามารถตั้งรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับ Classที่จะสร้างนั้นได้ เมื่อกำหนดค่าต่างๆเรียบร้อยแล้วให้กดFinish







เราจะได้ MainClass.class ขึ้นมา ต่อไปเราจะลองสร้าง class TestObj ขึ้นมา เพื่อลองใช้ Funtion บางอย่างของ Eclipse ครับ ภายใน class TestObj จะมี code ดังนี้ครับ
public class TestObj {
private String firstName;
private String lastName;

public void showName() {
System.out.println("THIS IS METHOD showName()");
System.out.println("My name is "+firstName+" "+lastName);
}
}
Tip&Trick
ในการ code คำสั่ง System.out.println(); นั้นสามารถใช้วิธีลัดโดยการพิมพ์ว่าsysout แล้วกด CTRL+SpaceBar ตัว Eclipse จะสร้างคำสั่งSystem.out.println(); ให้ทันที






จะเห็นได้ว่า Attribute ใน Class TestObj เป็น private ฉะนั้นก็จะต้องมี Getter and Setter เราสามารถที่จะสั่งให้ Eclipse สร้าง Getter and Setter จากAttribute ที่มีอยู่ได้โดยการคลิกขวาที่หน้าจอที่ใช้เขียน code แล้วเลือก Source >> Generate Getters and Setters..












หน้าต่างสำหรับการ Generate Getters and Setters จะขึ้นมา ให้เราทำการเลือกว่าจะสร้างGetters and Setters ให้กับAttribute ใดบ้าง และยังสามารถปรับรายละเอียดต่างๆได้เล็กน้อย เมื่อเลือกเสร็จเรียบร้อยให้กด OK
















เราจะได้ code ของ class TestObj ดังนี้
public class TestObj {
private String firstName;
private String lastName;

public void showName() {
System.out.println("THIS IS METHOD showName()");
System.out.println("My name is "+firstName+" "+lastName);
}


public String getFirstName() {
return firstName;
}


public void setFirstName(String firstName) {
this.firstName = firstName;
}


public String getLastName() {
return lastName;
}


public void setLastName(String lastName) {
this.lastName = lastName;
}
}


นอกจากการ Generate Getters and Setters แล้ว เราสามารถคลิกขวาเพื่อดูFunction อื่นๆที่ Eclipse สามารถช่วยจัดการให้การทำงานของเราง่ายขึ้นครับ
เมื่อได้ class TestObj แล้ว ต่อไปเราก็ทำการแก้ไข code ของ MainClass ให้เป็นดังนี้
public class MainClass {
public static void main(String[] args) {
TestObj temp = new TestObj();
temp.setFirstName("Itthi");
temp.setLastName("Kruenarongkul");
temp.showName();

temp.setFirstName("Monthinee");
temp.setLastName("Buntawee");
temp.showName();
}
}


Tip&Trick
ในการ code คำสั่งต่างๆ เราสามารถกด CTRL+SpaceBar เพื่อเรียกดูได้ว่าสามารถใช้ method หรือเรียก Attribute ใดมาใช้ได้บ้าง หรือบางที Eclipse ก็จะขึ้นส่วนนี้มาให้เอง




เมื่อทำการแก้ไข Code เสร็จเรียบร้อย เราจะลองทำการ Run โปรแกรมนี้ดู โดยการกดปุ่มสีเขียวที่อยู่ด้านล่างแถบเมนู





จะเห็นได้ว่า จะมีการเตือนให้ทำการ Save ก่อนทุกครั้งที่จะทำการ Run โปรแกรม หากต้องการ Save และทำการ Run ต่อไปให้กด OK แต่ถ้ากด Cancel จะไม่ Save และไม่ทำการ Run โปรแกรม

เมื่อ Run โปรแกรมแล้วให้ดูส่วนด้านล่างที่จะแสดงผลในการ Run โปรแกรมนั้น






นี่ก็เป็นวิธีการใช้งานเบื้องต้นสำหรับมือใหม่ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ :)



วีดีโอ การใช้งาน Eclipse เบื้องต้น

การใช้งาน Eclipse เบื้องต้น

การเรียนรู้ภาษาจาวา

เอกสารประกอบการเรียนรู้

      การเขียนโปรแกรมจาวา

เอกสารเพิ่มเติม

      Introduction to java and object





Java-it-easy ภาษาจาวามันง่ายนิดเดียว...


JAVA






ทำความรู้จักกับภาษาจาวากัน...

ภาษาจาวา



    ภาษาจาวาอังกฤษ: Java programming language ) เป็นภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุอังกฤษ: Object Oriented Programming ) พัฒนาโดย เจมส์ กอสลิง และวิศวกรคนอื่นๆ ที่ ซัน ไมโครซิสเต็มส์ ภาษาจาวาถูกพัฒนาขึ้นในปี พ.. 2534 ( .. 1991 ) โดยเป็นส่วนหนึ่งของ โครงการกรีน ( the Green Project ) และสำเร็จออกสู่สาธารณะในปี พ.. 2538 ( .. 1995 ) ซึ่งภาษานี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้แทนภาษาซีพลัสพลัส ( C++ ) โดยรูปแบบที่เพิ่มเติมขึ้นคล้ายกับภาษาอ็อบเจกต์ทีฟซี ( Objective-C ) แต่เดิมภาษานี้เรียกว่า ภาษาโอ๊ก ( Oak ) ซึ่งตั้งชื่อตามต้นโอ๊กใกล้ที่ทำงานของ เจมส์ กอสลิง แต่ว่ามีปัญหาทางลิขสิทธิ์ จึงเปลี่ยนไปใช้ชื่อ "จาวา" ซึ่งเป็นชื่อกาแฟแทน
และแม้ว่าจะมีชื่อคล้ายกัน แต่ภาษาจาวาไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาจาวาสคริปต์ ( JavaScript ) ปัจจุบันมาตรฐานของภาษาจาวาดูแลโดย Java Community Process ซึ่งเป็นกระบวนการอย่างเป็นทางการ ที่อนุญาตให้ผู้ที่สนใจเข้าร่วมกำหนดความสามารถในจาวาแพลตฟอร์มได้


จุดมุ่งหมาย


      
  จุดมุ่งหมายหลัก 4 ประการ ในการพัฒนาจาวา คือ

   1.ใช้ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ
   2.ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มสถาปัตยกรรม และ ระบบปฏิบัติการ )
   3.เหมาะกับการใช้ในระบบเครือข่าย พร้อมมีไลบรารีสนับสนุน
   4.เรียกใช้งานจากระยะไกลได้อย่างปลอดภัย


 จาวาแพลตฟอร์ม และ ภาษาจาวา




         เนื่องจากชื่อที่เหมือนกัน และการเรียกขานที่มักจะพูดถึงพร้อมกันบ่อยๆ ทำให้คนทั่วไป มักสับสนว่า ภาษาจาวา และ จาวาแพลตฟอร์ม เป็นสิ่งเดียวกัน

    ในความเป็นจริงนั้น ทั้งสองสิ่ง แม้จะทำงานเสริมกัน แต่ก็เป็นสิ่งที่แยกออกจากกัน

     โดย ภาษาจาวานั้น คือภาษาสำหรับใช้เขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายไปข้างต้น ส่วน จาวาแพลตฟอร์มนั้น คือสภาพแวดล้อมสำหรับการใช้งานโปรแกรมจาวา โดยมีองค์ประกอบหลักคือ จาวาเวอร์ชวลแมชีน ( Java virtual machine ) และ ไลบรารีมาตรฐานจาวา ( Java standard library )

     โปรแกรมที่ทำงานบนจาวาแพลตฟอร์มนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสร้างด้วยภาษาจาวา เช่น อาจจะใช้ ภาษา    ไพทอน ( Python ) หรือ ภาษาอื่นๆ ก็ได้


    ส่วนภาษาจาวานั้น ก็สามารถนำไปใช้พัฒนาโปรแกรมสำหรับแพลตฟอร์มอื่นได้เช่นเดียวกัน เช่น คอมไพเลอร์ GCJ สามารถคอมไพล์โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาจาวา ให้ทำงานได้ โดยไม่ต้องใช้ จาวาเวอร์    ชวลแมชีน










Eclipse คืออะไร

  
     Eclipse คือโปรแกรมที่ใช้สำหรับพัฒนาภาษา Java ซึ่งโปรแกรม Eclipse เป็นโปรแกรมหนึ่งที่ใช้ในการพัฒนา  Application Server ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเนื่องจาก Eclipse เป็นซอฟต์แวร์ OpenSource ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้โดยนักพัฒนาเอง ทำให้ความก้าวหน้าในการพัฒนาของ Eclipse เป็นไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
      Eclipse มีองค์ประกอบหลักที่เรียกว่า Eclipse Platform ซึ่งให้บริการพื้นฐานหลักสำหรับรวบรวมเครื่องมือต่างๆจากภายนอกให้สามารถเข้ามาทำงานร่วมกันในสภาพแวดล้อมเดียวกัน และมีองค์ประกอบที่เรียกว่า Plug-in Development Environment (PDE) ซึ่งใช้ในการเพิ่มความสามารถในการพัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น เครื่องมือภายนอกจะถูกพัฒนาในรูปแบบที่เรียกว่า Eclipse plug-ins ดังนั้นหากต้องการให้ Eclipse ทำงานใดเพิ่มเติม ก็เพียงแต่พัฒนา plugin สำหรับงานนั้นขึ้นมา และนำ Plug-in นั้นมาติดตั้งเพิ่มเติมให้กับ Eclipse ที่มีอยู่เท่านั้น Eclipse Plug-in ที่มีมาพร้อมกับ Eclipse เมื่อเรา download มาครั้งแรกก็คือองค์ประกอบที่เรียกว่า Java Development Toolkit (JDT) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการเขียนและ Debug โปรแกรมภาษา Java 
      ข้อดีของโปรแกรม Eclipse คือ ติดตั้งง่าย สามารถใช้ได้กับ J2SDK ได้ทุกเวอร์ชั่น  รองรับภาษาต่างประเทศอีกหลายภาษา มี plugin ที่ใช้เสริมประสิทธิภาพของโปรแกรม  สามารถทำงานได้กับไฟล์หลายชนิด เช่น HTML, Java, C, JSP, EJB, XML และ GIF  และที่สำคัญเป็นฟรีเเวร์ (ให้ใช้งานได้ 90 วัน ถ้าจะใช้งานเต็มประสิทธิภาพต้องเสียค่าใช้จ่ายภายหลัง) ใช้งานได้กับระบบปฏิบัติการ Windows, Linuxและ Mac OS